tatp.or.thtatp.or.th
tatp.or.th
สมาคมการผังเมืองไทย
  • Home
  • Our Activities
  • Mission
  • Contact
  • Home
  • Our Activities
  • Mission
  • Contact
May 26, 2019Design, Green City, Mass Transit, News & Pr, Planning

การจัดลำดับทีโอดี(TOD)ของอีอีซี

ฐาปนา บุณยประวิตร

นายกสมาคมการผังเมืองไทย

Thapana.asia@gmail.com

 

ผังร่างแผนแม่บทพัฒนาทีโอดีของที่ปรึกษา สนข.เสนอรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ตามวิธีของญี่ปุ่น ซึ่งแบ่งการพัฒนาพื้นที่เป็น 3 ระดับ ได้แก่ เมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยในผังร่างของพื้นที่อีอีซีได้จัดให้เมืองพัทยาเป็นเมืองขนาดใหญ่

 

1

เครดิตภาพ https://goo2url.com/rxMyq

 

หากพิจารณาพื้นที่ทีโอดีตามผังร่างที่คณะที่ปรึกษานำเสนอ จะพบว่าสิ่งผิดปรกติอยู่สามประการ

 

ประการแรก การจัดลำดับให้พัทยาเป็นพื้นที่พัฒนาขนาดใหญ่เพียงพื้นที่เดียวอาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เมื่อเทียบจากกิจกรรมและมูลค่าเศรษฐกิจของพื้นที่ รวมทั้งโอกาสการพัฒนาในอนาคต เนื่องจากพื้นที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ของอีอีซีนั้น ยังมีเมืองแหลมฉบังและเมืองศรีราชาที่มีพื้นที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่เมืองบางแสนและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งเติบโตมากในอนาคต ไม่นับรวมพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งรัฐและเอกชนอยู่ระหว่างการเพิ่มปริมาณการลงทุน

 

ประการที่สอง การไม่ปรากฎชื่อของพื้นที่เศรษฐกิจศรีราชาและแหลมฉบังในผังร่าง ซึ่งตามข้อเท็จจริง บริเวณสถานีรถไฟศรีราชามีที่ดินของการรถไฟพร้อมพัฒนาอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สำคัญคือ พื้นที่สองฝั่งในรัศมีไม่เกิน 3,200 เมตรที่เป็นรัศมีการพัฒนาพื้นที่ตามเกณฑ์ทีโอดีและ LEED-ND มีที่ดินของภาคเอกชนแปลงใหญ่ซึ่งพร้อมเข้าร่วมการพัฒนาหากรถไฟความเร็งสูงเปิดให้บริการ

 

ประการที่สาม การกำหนดพื้นที่พัฒนาที่มีระยะห่างจากสถานีมากกว่า 3,200 เมตรนั้น ในเชิงวิชาการนั้นจะสามารถเรียกพื้นที่ทีโอดีได้หรือไม่ เนื่องจากระยะบริการเบื้องต้นของทีโอดีกำหนดจากระยะการเดินถึงประมาณ 400 เมตรหรือสามารถเดินถึงใน 5 นาที หรือระยะการปั่นจักรยานรูปแบบที่เป็นกิจวัตรประมาณ 1,600 เมตร และระยะบริการเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งมวลชนรองที่ 3,200 เมตร

 

ข้อพิจารณาสามประการที่เห็นว่า ที่ปรึกษาจำเป็นจะต้องพิจารณาใหม่นั้น ข้อแรกและข้อที่สองมีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากการจัดลำดับชั้นของเมืองส่งผลโดยตรงต่อการวางแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และยังเป็นปัจจัยกระทบทางตรงต่อการลงทุนทางเศรษฐกิจของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่

 

สำหรับการเว้นไม่กล่าวถึงพื้นที่เศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงและมีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่กรณีของศรีราชาและแหลมฉบังนั้น หากที่ปรึกษาไม่ได้กำหนดไว้จะนับเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรง เนื่องจากพื้นที่สองบริเวณและพื้นต่อเนื่อง ปัจจุบันและในอนาคตได้รับการกำหนดจากหลายๆ แผนพัฒนาระดับชาติให้เป็นพื้นที่แห่งการลงทุนและการสร้างงานสำคัญของอีอีซี

 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา ที่ปรึกษายังสามารถปรับปรุงแก้ไขผังการพัฒนาได้ จึงอยากให้มีการทบทวนและจัดลำดับเมืองพร้อมพิจารณาตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจปัจจุบันและในอนาคตเสียใหม่ เพื่อลดความเสียหายด้านโอกาสการลงทุนและการพัฒนาการสร้างงานและการจ้างงานในพื้นที่อีอีซีต่อไป

 

2.6

ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย

3

ขอบคุณบทความจาก กรุงเทพธุรกิจ คอลัมส์ EEC FOCUS วันที่ 24 พฤษภาคม  2562

EECTODTOD EECทีโอดีทีโอดี อีอีซีอีอีซี
Advertisement

ไก่ย่างบางตาล

อีเมล์รับข่าวสาร
ท่านสามารถลงทะเบียน เพื่อรับข่าวสารอิเล็คโทรนิกส์ เราจะส่งข่าวสารให้ท่าน ทางอีเมล์ เพื่อลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กรุณากรอกรายละเอียด ของท่านและคลิกปุ่ม “Subscribe”
Name
Email *
Find Us On Facebook
 

 
  • ข้อสรุปเบื้องต้นจากการทดสอบแบบแนวคิดเบื้องต้นการปรับปรุงทางข้าม บริเวณถนนราชวิถี
    January 9, 2021
  • ความสำคัญและความท้าทายต่อการพัฒนาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ยุควิถีใหม่
    September 16, 2020
  • จุดพลุ!! ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกด้วยความร่วมมือทุกภาคส่วน
    August 27, 2020
  • กฎบัตรนครสวรรค์ พัฒนาเครือข่ายสมาร์ทฟาร์มผักปลอดภัยส่งตรงโรงพยาบาล ร้านอาหาร และโรงแรม
    February 21, 2020
  • พิธีลงนามกฏบัตรอาหารปลอดภัยภาคเหนือ 4 มี.ค.63 เรียนเชิญเครือข่ายร่วมงาน
    February 13, 2020
  • กฎบัตรอาหารพัฒนา 40 ฟาร์มอัจฉริยะเพิ่มเศรษฐกิจท้องถิ่นแปดหมื่นล้าน
    December 25, 2019
  • ระบบสัญจรเขียวต้นทางเมืองประหยัดพลังงาน บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
    December 15, 2019
  • คณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติ แสดงความขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรม
    December 9, 2019
  • กฎบัตรอาหารกับภารกิจการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น
    December 8, 2019
  • “เมืองอัจฉริยะ”วาระแห่งชาติ กลไกลดความเหลื่อมล้ำ
    November 27, 2019