tatp.or.thtatp.or.th
tatp.or.th
สมาคมการผังเมืองไทย
  • Home
  • Our Activities
  • Mission
  • Contact
  • Home
  • Our Activities
  • Mission
  • Contact
July 4, 2018Design, Green City, Mass Transit, Planning

ศูนย์เศรษฐกิจระยองในฐานะ”ศูนย์กลางรอง”การขนส่งอีอีซี

บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย

thapana.asia@gmail.com

 

1

 

ระยองเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงเป็นอันดับสองรองจากกรุงเทพมหานคร ด้วยการเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์การขนส่งและขนถ่ายสินค้าอุตสาหกรรม พื้นที่การเกษตร และศูนย์เศรษฐกิจพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีจำนวนมากถึง 15 แห่ง คิดรวมนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรม ทำให้ระยองเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่เติบโตสูงมาโดยตลอด ยิ่งได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษตามพระราชบัญญัติอีอีซีด้วยแล้ว ระยองจึงมีสภาพเป็นทำเลทองของการลงทุนและการบริการภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศไปโดยปริยาย หากอีอีซีใช้เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) เป็นกรอบแนวคิดการออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ เมืองระยองจะถูกกำหนดให้มีบทบาทที่โดดเด่น 2 ด้าน โดย

บทบาทด้านแรก ระยองจะต้องออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจให้มีบทบาทเป็นหน่วยพาณิชยกรรมสนับสนุนภาคบริการ ภาคการค้า และภาคการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม

บทบาทด้านที่สอง ระยองจะต้องออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและขนส่งระดับรองที่ได้มาตรฐานของอีอีซี

สำหรับศูนย์กลางคมนาคมและขนส่งหลักของอีอีซีนั้น ได้แก่ บริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทางของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยมีศูนย์กลางคมนาคมและขนส่งรอง จำนวน 4 แห่งเป็นโครงข่ายสนับสนุน ประกอบด้วย

ศูนย์แรกพัทยา ที่กำหนดเป็นพื้นที่ให้บริการการเดินทางและการท่องเที่ยวของอำเภอบางละมุงและเมืองพัทยา

ศูนย์ที่สองศรีราชา ได้กำหนดพื้นที่ให้บริการเดินทางและขนส่งสินค้าของอำเภอศรีราชา แหลมฉบัง และพื้นที่อุตสาหกรรมในบริเวณต่อเนื่อง

ศูนย์ที่สามฉะเชิงเทรา กำหนดพื้นที่ให้บริการเดินทางและขนส่งสินค้าของอำเภอเมือง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขตและพื้นที่ต่อเนื่อง

ศูนย์ที่สี่ ได้แก่ ศูนย์ระยอง ซึ่งกำหนดพื้นที่ให้บริการเดินทางและขนส่งสินค้าแก่บริเวณศูนย์เศรษฐกิจบ้านฉาง ศูนย์เศรษฐกิจมาบตาพุด ศูนย์เศรษฐกิจศูนย์การค้าแหลมทอง ศูนย์เศรษฐกิจเมืองระยองและเทศบันเทิง ศูนย์เศรษฐกิจศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าระยอง พร้อมด้วยศูนย์เศรษฐกิจย่อยบ้านค่ายและปลวกแดง

 

ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูพร้อมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งในตัวศูนย์เศรษฐกิจและระบบการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์กลางคมนาคมและขนส่งหลักและรองให้สมบูรณ์ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบปรับปรุงรูปแบบของย่าน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์อาคาร การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดั้งเดิม การออกแบบอัตลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองสำหรับย่านเกิดใหม่ การออกแบบปรับปรุงโครงข่ายการสัญจร ทั้งระบบการสัญจรภายในย่านและระบบการสัญจรเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจ

ที่สำคัญคือ การออกแบบโครงข่ายการสัญจร (Mobility Network)

ที่ต้องให้ความสำคัญต่อการใช้โครงข่ายการสัญจรสีเขียว (Green Mobility) โดยใช้โครงข่ายการขนส่งทางรางเชื่อมต่อระหว่างศูนย์กลางหลักกับศูนย์กลางรองดังที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรฐานในพื้นที่พัฒนาพิเศษ เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ภาคการค้า ภาคการลงทุน ภาคพาณิชยกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคการอยู่อาศัย

 

3

 

2

ขอบคุณ บทความจาก กรุงเทพธุรกิจ

สมาคมการผังเมืองไทย

Related posts
สระบุรี ใช้ “สมาร์ทบัส” สายแรก เม.ย.62
February 19, 2019
5 บทความ TOD (การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน) ที่ไม่ควรพลาด
February 15, 2019
TOD ต้องใช้เกณฑ์อย่างเคร่งครัด บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
February 15, 2019
ภาษีกับการวางแผนการใช้ที่ดิน บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
February 9, 2019
การเก็บค่าธรรมเนียม T-Charge ใจกลางมหานครลอนดอน บทความโดย ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง
February 7, 2019
เขตปล่อยมลภาวะต่ำสุดในมหานครลอนดอน
February 2, 2019
อุดรธานี: กฎบัตรแรกของไทย
February 2, 2019
สุทธิชัย หยุ่น ถอดบทเรียนบริษัทพัฒนาเมือง ในฐานะ new platform รูปแบบการพัฒนาประเทศ
February 2, 2019
การกระตุ้นการใช้ที่ดินเพื่อสร้างเศรษฐกิจ บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
February 1, 2019
ยกระดับสตรีทฟู้ดอุดรธานีตั้งเป้า 2 ปีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ 1.2หมื่นล้าน
January 29, 2019
อีเมล์รับข่าวสาร
ท่านสามารถลงทะเบียน เพื่อรับข่าวสารอิเล็คโทรนิกส์ เราจะส่งข่าวสารให้ท่าน ทางอีเมล์ เพื่อลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กรุณากรอกรายละเอียด ของท่านและคลิกปุ่ม “Subscribe”
Name
Email *
Find Us On Facebook
 

 
  • สระบุรี ใช้ “สมาร์ทบัส” สายแรก เม.ย.62
    February 19, 2019
  • 5 บทความ TOD (การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน) ที่ไม่ควรพลาด
    February 15, 2019
  • TOD ต้องใช้เกณฑ์อย่างเคร่งครัด บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
    February 15, 2019
  • ภาษีกับการวางแผนการใช้ที่ดิน บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
    February 9, 2019
  • การเก็บค่าธรรมเนียม T-Charge ใจกลางมหานครลอนดอน บทความโดย ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง
    February 7, 2019
  • เขตปล่อยมลภาวะต่ำสุดในมหานครลอนดอน
    February 2, 2019
  • อุดรธานี: กฎบัตรแรกของไทย
    February 2, 2019
  • สุทธิชัย หยุ่น ถอดบทเรียนบริษัทพัฒนาเมือง ในฐานะ new platform รูปแบบการพัฒนาประเทศ
    February 2, 2019
  • การกระตุ้นการใช้ที่ดินเพื่อสร้างเศรษฐกิจ บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
    February 1, 2019
  • ยกระดับสตรีทฟู้ดอุดรธานีตั้งเป้า 2 ปีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ 1.2หมื่นล้าน
    January 29, 2019