tatp.or.thtatp.or.th
tatp.or.th
สมาคมการผังเมืองไทย
  • Home
  • Our Activities
  • Mission
  • Contact
  • Home
  • Our Activities
  • Mission
  • Contact
December 8, 2019Design, Green City, News & Pr, Planning

กฎบัตรอาหารกับภารกิจการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น

ฐาปนา บุณยประวิตร

นายกสมาคมการผังเมืองไทย

Thapana.asia@gmail.com

 

1

 

กฎบัตรอาหารหรือ Thailand Food Charter เป็นกฎบัตรลูกของกฎบัตรแห่งชาติ (National Charter) จัดเป็นกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงลึกโครงการที่ 3 (ต่อจาก Smart City Charter และ Smart Energy Charter) ของโครงการวิจัยกลไกเชิงพื้นที่เพื่อการออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (SG-ABC) สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการคือ

  1. พัฒนากฎบัตรอาหารด้วยการระดมทรัพยากรดิน พืชพรรณ คน ภูมิปัญญาดั้งเดิม เทคโนโลยีดิจิทัล และความเชี่ยวชาญของหน่วยงานเพื่อสร้างแพลตฟอร์มข้อตกลงร่วมกันในการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพอาหารปลอดภัยสู่การสร้างสุขภาพและความมั่นคงของชุมชน
  1. ใช้แพลตฟอร์มกฎบัตรอาหารขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น (Local Economy) และธุรกิจท้องถิ่น (Local Business) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ท้องถิ่น ทั้งการจ้างงานถาวร การสร้างงานถาวร การสร้างระบบการหมุนเวียนระบบการเงินของท้องถิ่น ซึ่งสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจและประชากรในท้องถิ่นในระยะยาว
  1. ดำรงรักษาดินอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากร สภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานธรรมชาติ วิถีเกษตร ตำรับอาหารพื้นถิ่น และความสัมพันธ์ทางสังคมของเครือข่ายเกษตรให้ยั่งยืน เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดแก่ลูกหลาน
  1. พัฒนาเครือข่ายเกษตรภูมิปัญญา เกษตรอัจฉริยะ เครือข่ายการตลาด เครือข่ายผู้บริโภค และเครือข่ายวิชาการเกษตรอาหารปลอดภัย เพื่อให้การผลิต การแปรรูป การบริหารจัดการอาหาร การควบคุมคุณภาพเป็นไปเพื่อความสมบูรณ์ด้านสุขภาพ ความมั่นคงด้านอาหาร และการสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานของสังคม
  1. ใข้กฎบัตรอาหารเป็นกลยุทธ์การลดความเหลื่อมล้ำด้านความสามารถการเข้าถึงอาหารคุณภาพของประชาชนทุกระดับรายได้ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับสารอาหารที่สอดคล้องกับการยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสการมีงานทำที่มีคุณภาพในพื้นที่ถิ่นกำเนิด การลดการอพยพโยกย้ายแรงงาน และการสร้างความเจริญในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจชานเมืองและชนบท

 

กฎบัตรแห่งชาติกำหนดแนวทางและขั้นตอนการพัฒนาเครือข่ายกฎบัตรอาหารไว้ดังนี้

  1. พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มด้วยการวิจัยเชิงพื้นที่ ขับเคลื่อนการปฏิบัติด้วยการผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะและนโยบายอาหารปลอดภัยระดับประเทศ
  1. พัฒนาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ สระบุรี อุดรธานี ระยอง กระบี่ และเมืองป่าตอง โดยพัฒนารูปแบบฟาร์มอัจฉริยะตามบทบาทของพื้นที่ ด้วยการสนับสนุนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์วิจัย Food Innopolis ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป้าหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยโครงการรับผิดชอบออกแบบผังแม่บทฟาร์มอัจฉริยะตัวอย่างให้เมืองละ 1 แห่ง
  1. ให้ฟาร์มตัวอย่างเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรและอาหารปลอดภัย โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มฟาร์มอัจฉริยะไม่น้อยกว่า 10 แห่งตามแผน 3 ปี หรือตามความเหมาะสมซึ่งฟาร์มทั้งหมดในจังหวัดจะมีความสามารถผลิตผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยรองรับการบริโภคอาหารในจังหวัดนั้นๆ สำหรับกลุ่มเครือข่ายโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และโรงเรียนชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  1. พัฒนาเครือข่ายร่วมกันระหว่างฟาร์มเกษตรอัจฉริยะกับเครือข่ายขนส่งโลจิสติกส์ ตลาดสดอาหาร ผู้บริโภค โดยให้คณะกรรมการกฎบัตรสาขาเกษตรและอาหารปลอดภัยหริอคณะกรรมการกฎบัตรอาหารเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

คณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาผังแม่บทฟาร์มเกษตรอัจฉริยะและหารือรูปแบบการลงทุนฟาร์มอัจฉริยะในวันที่ 16-19 ธันวาคม 2562 ณ.ออนวัลเลย์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะมีผู้แทนฟาร์มเกษตรเข้าร่วมจำนวน 100 คน

 

4

2

3

Advertisement

4

 

Advertisement
4

 


กฎบัตรอาหารกฎบัตรแห่งชาติ
Advertisement

ไก่ย่างบางตาล

อีเมล์รับข่าวสาร
ท่านสามารถลงทะเบียน เพื่อรับข่าวสารอิเล็คโทรนิกส์ เราจะส่งข่าวสารให้ท่าน ทางอีเมล์ เพื่อลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กรุณากรอกรายละเอียด ของท่านและคลิกปุ่ม “Subscribe”
Name
Email *
Find Us On Facebook
 

 
  • ข้อสรุปเบื้องต้นจากการทดสอบแบบแนวคิดเบื้องต้นการปรับปรุงทางข้าม บริเวณถนนราชวิถี
    January 9, 2021
  • ความสำคัญและความท้าทายต่อการพัฒนาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ยุควิถีใหม่
    September 16, 2020
  • จุดพลุ!! ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกด้วยความร่วมมือทุกภาคส่วน
    August 27, 2020
  • กฎบัตรนครสวรรค์ พัฒนาเครือข่ายสมาร์ทฟาร์มผักปลอดภัยส่งตรงโรงพยาบาล ร้านอาหาร และโรงแรม
    February 21, 2020
  • พิธีลงนามกฏบัตรอาหารปลอดภัยภาคเหนือ 4 มี.ค.63 เรียนเชิญเครือข่ายร่วมงาน
    February 13, 2020
  • กฎบัตรอาหารพัฒนา 40 ฟาร์มอัจฉริยะเพิ่มเศรษฐกิจท้องถิ่นแปดหมื่นล้าน
    December 25, 2019
  • ระบบสัญจรเขียวต้นทางเมืองประหยัดพลังงาน บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร
    December 15, 2019
  • คณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติ แสดงความขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรม
    December 9, 2019
  • กฎบัตรอาหารกับภารกิจการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น
    December 8, 2019
  • “เมืองอัจฉริยะ”วาระแห่งชาติ กลไกลดความเหลื่อมล้ำ
    November 27, 2019